ประวัติอำเภอแม่จัน
อำเภอแม่จันเดิมเป็นเพียงหมู่บ้านหรือตำบลหนึ่งในเขตควบคุมของเมืองเชียงแสนหลวง ตามพงศาวดารโยนก กล่าวว่า เมืองเชียงแสนมีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณที่ราบลุ่มเชียงแสนทั้งหมด ซึ่งมีอาณาเขตที่กว้างขวางต่อมาเมืองเชียงแสนหลวงได้เกิดนำท่วมบ่อยๆ ปีหนึ่งนำจะท่วมเป็นเวลาหลายเดือน ชาวบ้านแถบนี้ที่มีอาชีพเพาะปลูกและทำนาไม่สามารถที่จะทำนาได้จึงพากันอพยพลงมาทางใต้ ประมาณ 25 กิโลเมตร มาอยู่ที่ "บ้านขิ" (ซึ่งปัจจุบันคือ บ้านแม่คี หมู่ที่ 7 และ หมู่ที่ 9 ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน) ซึ่งมีบริเวณเป็นที่ราบลุ่มกว้างมีแม่นำไหลผ่าน ทำเลดี เหมาะแก่การเพาะปลูกและทำนา และ ยังมีชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนก่อนแล้วเกือบ 400 หลังคาเรือน ประกอบกับเป็นเส้นทางค้าขายยังรัฐฉาณและยูนาน และต่อมาชาวบ้านเมืองเชียงแสนหลวงก็อพยพมาอยู่ร่วมกันที่บ้านขิเพิ่มมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 2424 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้เจ้าอินต๊ะ ซึ่งครองเมือง ลำพูน ลำปาง และ เจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ นำราษฎรจากเชียงใหม่ประมาณ 1,500 ครัวเรือน ไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองเชียงแสนหลวง และพระราชทานบรรดาศักดิ์ เจ้าอินต๊ะ เป็น พระยาเดชดำรง ตำแหน่ง เจ้าเมืองเชียงแสน ในปี พ.ศ. 2437
การจัดตั้งอำเภอแม่จัน
ในปี พ.ศ. 2442 เป็นปีกุน (ช้าง) จุลศักราช 1261 ตัวปีกัดไก้รัตนโกสินทร์ศก 118 คริสต์ศักราช 1900 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ นายไชยวงศ์ บุตรของพระยาราชเดชดำรง (เจ้าอินต๊ะ) เป็นพระยาราชเดชดำรง สืบตระกูลแทนบิดา เป็น นายอำเภอแม่จัน ที่เรียกว่า "แขวงเชียงแสนหลวง" คนแรก ซึ่งย้ายมาจากเมืองเชียงแสน มาตั้งอยู่ที่อำเภอแม่จัน โดยใช้ชื่อว่า "แขวงเชียงแสนหลวง" (แม่จัน) ในครั้งแรกมาตั้งอาคารที่ว่าการอยู่ที่หมู่บ้านแม่คี เพราะบ้านแม่คีสมัยนั้นเป็นหมู่บ้านใหญ่ เป็นศูนย์กลางการคมนาคม และ การค้าแลกเปลี่ยนสินค้า จากนั้น ได้ย้ายที่อาคารที่ทำการแขวงเชียงแสนหลวง (อำเภอแม่จัน) จากหมู่บ้านแม่คีลงมาทางทิศใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร มาสร้างอาคารที่ว่าการแขวงเชียงแสนหลวงใหม่ที่ริมฝั่งแม่นำจัน ตำบลเวียงกาสา จนถึง ปี 2452 เป็นปีเปิกเล้า จุลศักราช 1271 ได้เปลี่ยนชื่อจาก " แขวงเชียงแสนหลวง" มาเป็น "อำเภอแม่จัน" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ตราเทศบาลตำบลแม่จัน
คำขวัญอำเภอ
พระธาตุกู่แก้วคู่บ้าน แม่น้ำจันคู่เมือง ลิ้นจี่หวานลือเลื่อง รุ่งเรืองวัฒนธรรม
ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ
ที่ว่าการอำเภอแม่จัน เลขที่ 4 หมู่ 2 ต.แม่จัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย 57110
สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิประเทศ เทศบาลตำบลแม่จัน มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ทางทิศตะวันตกและ ทิศเหนือมีแม่น้ำจันไหลผ่าน
สภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศของเทศบาลตำบลแม่จัน เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม รวม 3 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 39 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน–เดือนตุลาคม รวม 5 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด
ประมาณ 39 องศาเซลเซียส ฝนตกชุกที่สุด ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน–เดือนกุมภาพันธ์ รวม 4 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 7- 10 องศาเซลเซียส
ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี
ปอยหลวง
(ตัวอย่างประเพณีปอยหลวงจากจังกวัดเชียงใหม่)
งานบุญปอยหลวงเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคมหลายประการ นับตั้งแต่ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลา จากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน
ป๋าเวณี ปี๋ใหม่เมือง งานประเพณีสงกรานต์
จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีการละเล่นพื้นเมือง
ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอีก้อ
(ตัวอย่างประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอีก้อ)
หรือที่เรียกตนเองว่า "อาข่า" มีเชื้อสายจากจีน-ทิเบต เดินทางอพยพมาอยู่บริเวณ ชายแดนไทย-พม่า แถบตอนเหนือของลำน้ำกก โดยเฉพาะอำเภอแม่จัน และแม่สาย การโล้ชิงช้าเป็นการขึ้นไปขอพรและแสดงความรำลึกถึงพระคุณของเทพธิดาแห่ง สรวงสวรรค์ ผู้ประทานความชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหารและ ยังเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย จัดในช่วงเดือนสิงหาคม
ภาษา
ภาษาพูด ใช้พูดจากันเรียกว่า คำเมือง เนื่องจากเชียงรายเคยเป็นเมืองร้างผู้คนนานเกือบร้อยปี ได้มีการฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นมาใหม่เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2384 โดยได้เกณฑ์ราษฎรจากเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และชนเผ่าไตใหญ่ ไตลื้อ ไตยอง และไตขืน (เขิน) ซึ่งอพยพจากเชียงตุง และสิบสองปันนา รวมทั้งชาวลาวจากประเทศลาว ได้เข้ามาอาศัยอยู่รวมกัน ดังนั้นสำเนียงพูดของชาวเชียงรายจึงมีความหลากหลายทางสำเนียงในพื้นที่ต่างๆ
ภาษาเขียน มีภาษาเขียนที่เรียกว่าอักขระล้านนา หรือตัวเมือง อักษรล้านนามีวิวัฒนาการมาจากอักษรพราหมีของอินเดีย มีการจัดระบบของหลักภาษาคล้ายกับภาษาบาลี อักษรล้านนามีรูปทรงกลมป้อมคล้ายอักษรพม่าและมอญ แต่หลักการทางภาษาไม่เหมือนกัน
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น